เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
(และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
(และ) พิจารณาฌานวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญาดี
(และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคล 5 จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล 5 จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร 5 ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ 15 อย่างนี้
อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ 5มีได้
ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 10 อย่าง การเจริญอินทรีย์ 5
มีได้ด้วยอาการ 10 อย่าง บุคคลเมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความไม่มีศรัทธา เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ
ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา อินทรีย์ 5 อันบุคคล
ย่อมเจริญด้วยอาการ 10 อย่างนี้ การเจริญอินทรีย์ 5 มีได้ด้วยอาการ 10 อย่างนี้
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ 10 อย่าง ได้แก่
1. สัทธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
ความไม่มีศรัทธาดีแล้ว
2. ความไม่มีศรัทธาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สัทธินทรีย์ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :291 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 1. ปฐมสุตตันตนิทเทส
3. วิริยินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
เกียจคร้านดีแล้ว
4. ความเกียจคร้านเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
วิริยินทรีย์ดีแล้ว
5. สตินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
ประมาทดีแล้ว
6. ความประมาทเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สตินทรีย์ดีแล้ว
7. สมาธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อุทธัจจะดีแล้ว
8. อุทธัจจะเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สมาธินทรีย์ดีแล้ว
9. ปัญญินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อวิชชาดีแล้ว
10. อวิชชาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
ปัญญินทรีย์ดีแล้ว
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ 10 อย่างนี้
[186] อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5 เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 4 อย่าง อินทรีย์ 5 เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ 4 อย่าง
อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
อินทรีย์ 5 เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งสกทาคามิผล อินทรีย์ 5 อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอนาคามิมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :292 }